top of page
ค้นหา

บุคลากรทางการแพทย์ ควร ฉีดวัคซีนหวัดใหญ่

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่กับโรคโควิด-19 มีอาการเริ่มต้นคล้ายกัน กลุ่มเสี่ยงของทั้ง 2 โรคนี้ก็คล้ายกัน วิธีป้องกันโรคก็เหมือนกัน อาการรุนแรงก็คล้ายกันอีก ซึ่งจากมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาก็ทำให้ไข้หวัดใหญ่มีโอกาสระบาดน้อยลงในปีนี้ โดยช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขพบผู้มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่แต่ตรวจไม่เจอเชื้อ กล่าวคือเจอ 0% อย่างไรก็ดี ในช่วงฤดูฝนปีนี้ ถ้ามีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เพิ่มมากขึ้นจะไปสร้างความสับสนในคลินิกโรคติดต่อทางเดินหายใจ แต่หากสามารถลดกลุ่มเสี่ยงลงก็ทำให้การจัดการโควิด-19 ง่ายขึ้น อีกทั้งไม่ไปแย่งชิงทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดของโรงพยาบาลอีกด้วย


“สปสช.ได้วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ในปีนี้เร็ว ทำให้ฉีดได้เร็วก่อนฤดูระบาด และในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาด การได้รับวัคซีนในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ก็มีความสำคัญเพราะเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง จึงสนับสนุนให้รีบไปรับวัคซีนทุกคน ขณะเดียวกันฝากถึงหน่วยบริการว่าเมื่อฉีดวัคซีนแล้วขอให้บันทึกข้อมูลเข้าระบบโดยเร็ว เพราะจะมีผลระยะยาวในการเป็นข้อมูลสำหรับต่อรองของบประมาณจัดซื้อวัคซีนเพิ่มในอนาคต” นพ.ธนรักษ์กล่าว

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปีนี้ สปสช.จัดซื้อวัคซีน 4 ล้านโดส รวมเป็นเงินประมาณ 450 ล้านบาท สำหรับ 7 กลุ่มเสี่ยง คือ หญิงมีครรภ์, เด็กอายุ 6-2 ขวบ, ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, ผู้พิการทางสมอง, ผู้ป่วยธาลัสซีเมียและผู้ติดเชื้อเอชไอวี และกลุ่มที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัมส่วนการให้วัคซีนสามารถแบ่งเป็น 2 พื้นที่ใหญ่ๆ คือ กทม.และต่างจังหวัด.

อัพเดทผลบอลสดแบบเรียลไทม์ >> ผลบอล

ดวงรายสัปดาห์ >> ดูดวง

ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page